นโยบายด้านการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามหลักจริยธรรมที่ดี มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ บริษัทฯ จึงได้รณรงค์การต่อต้านการให้สินบน และการทุจริต  คอร์รัปชันให้บุคลากรในองค์กรได้มีความเข้าใจ และแสดงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการให้สินบน และการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฎิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการให้สินบน และการทุจริต คอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อให้การตัดสินใจ และการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริต และคอร์รัปชันได้รับการพิจารณา และปฎิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายต่อต้านการให้สินบน และการทุจริต คอร์รัปชันไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการชี้แจง ทำความเข้าใจ รวมทั้งสื่อสารถึงมาตรฐานการปฎิบัติตนให้แก่คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ โดยทั่วถึงเพื่อเป็นแนวทางการปฎิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจดังนี้

  1. สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความชื่อสัตย์ สุจริต และยึดมั่นในความเป็นธรรม
  2. สื่อสาร และสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนในบริษัทฯ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการต่อต้านการให้สินบน และการทุจริต คอร์รัปชัน
  3. จัดให้มีการฝึกอบรมหรือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่พึงปฏิบัติให้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้ตระหนักถึงจรรยาบรรณ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  4. บริษัทฯ ไม่สนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ดำเนินการ หรือสนับสนุน การให้สินบนการทุจริต คอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรง และทางอ้อม
  5. ทุกหน่วยงานในบริษัทจะต้องประเมินว่าหน่วยงานของตนมีทรัพยากรและบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอต่อการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน การรับ-ให้สินบน ซึ่งในกรณีที่พบว่ามีทรัพยากรและบุคลากรไม่เพียงพอ จะต้องแจ้งกรณีดังกล่าวต่อกรรมการบริหารโดยเร็วเพื่อการดำเนินการแก้ไขต่อไป
  6. คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) กับบริษัท การดำเนินการใดๆ ต้องอยู่บนฐานของความสมเหตุสมผล และมุ่งกระทำเพื่อประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ
  7. ห้ามมิให้พนักงาน เสนอ ให้ สัญญาว่าจะให้ หรือยอมรับ เรียกรับ เงินสด หรือผลประโยชน์อื่นใด กับลูกค้าและ/หรือคู่ค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทฯ ได้รับทำงานนั้น หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อกฎหมาย
  8. บริษัทฯ จัดให้มีการควบคุมการบริจาคเพื่อการกุศล การให้ของขวัญ หรือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ให้มีความโปร่งใส และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวหรือจูงใจ ให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือเอกชน ดำเนินการใดๆ ที่ไม่เหมาะสมแก่บริษัทฯ หรือกระทำการใดๆ ที่ส่อไปในทางทุจริต คอร์รัปชัน
  9. การบริจาค การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การอบรม สัมมนา และเยี่ยมชมกิจการ และการสนับสนุนลูกค้า และ/หรือคู่ค้า หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปตาม ระเบียบปฎิบัติของบริษัทฯ
  10. บริษัทฯ จัดให้มีการควบคุมภายในเกี่ยวกับการขาย การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดหาผลิตภัณฑ์ และให้บริการ รวมถึงการจัดจ้างผู้ให้บริการภายนอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานทุจริต หรือกระทำการใดๆ ที่ไม่เหมาะสม
  11. บริษัทฯ จัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดตามนโยบายต่อต้านการให้สินบน และการทุจริตคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดของบริษัทฯ และบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบัน
  12. หน่วยงานกำกับดูแลของบริษัทจะต้องกำกับดูแลบริษัทเพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดี และกรณีที่พบทุจริต คอร์รัปชันหรือการเบิกค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสม หรือพบว่าบางหน่วยงานมีระบบการควบคุมภายในที่ยังไม่ดีเพียงพอที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันได้ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานดังกล่าวได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และหารือร่วมกันที่จะปรับปรุงแก้ไขระบบงานดังกล่าวเพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดี อุดช่องโหว่ของโอกาสที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชัน อย่างไรก็ดี มาตรการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการบริหารและหรือคณะกรรมการตรวจสอบก่อนนำไปใช้
  13. พนักงานไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายการให้สินบน และการทุจริต
    คอร์รัปชัน หรือส่อไปในทางดังกล่าวที่มีผลเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยพนักงานสามารถแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียน ไปยังช่องทางตามที่บริษัทฯ กำหนด
  14. บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงานที่ปฎิเสธการรับสินบน หรือพนักงานที่แจ้งเรื่องทุจริต และ
    คอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ รวมถึงพนักงานผู้ถูกร้องเรียน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูล และผู้ถูกร้องเรียน เกี่ยวกับการให้สินบน และการทุจริต คอร์รัปชัน ตามที่บริษัทฯ กำหนด ทั้งนี้ บริษัทฯจะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลในทางลบต่อพนักงานที่ปฎิเสธการรับสินบนแม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้
    บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
  15. ผู้ที่กระทำการให้สินบน หรือทุจริต คอร์รัปชัน เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

 

นโยบายและแนวทางการด้านการปฎิบัติตามกฎหมายและระเบียบการเป็นคู่ค้า คู่สัญญาภาครัฐ

            บริษัท แบง เทรดดิ้ง 1992 จำกัด.มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมโดยยึดมั่นความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดีโดยมีการบริหารกิจการบนพื้นฐานความโปร่งใส มีจริยธรรม ยึดมั่นในหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทแบง เทรดดิ้ง 1992 จำกัด.มีนโยบายกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติและข้อกำหนด
ในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทแบง เทรดดิ้ง 1992 จำกัด.และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติ          อย่างรอบคอบ บริษัทแบง เทรดดิ้ง 1992 จำกัด. จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยบริษัทฯ จะดำเนินการเผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) เว็บไซต์ของบริษัท สื่อโซเชียลมีเดียของบริษัท เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ  ทั้งนี้ผู้บริหารจะสอบทานแนวทางปฏิบัติและมาตรการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย และสภาพการดำเนินธุรกิจ

 

ทุจริต หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

คอร์รัปชัน หมายถึง การให้ สัญญาว่าจะให้ การรับ เรียกรับทรัพย์สิน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ข้อมูล เงิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้บุคคล ยกเว้นการกระทำ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือผลประโยชน์ใด ๆ อันมิชอบให้กับตัวเอง พวกพ้อง หรือบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการกระทำใดที่ขัดหรือแย้งกับจรรยาบรรณของบริษัทฯการกระทำดังกล่าวรวมถึง

ก. การให้และรับของขวัญ การเลี้ยงรับรองและการบริการในรูปแบบอื่นใด หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายเพื่อเป็นค่าสิ่งของ การเลี้ยงรับรอง ตลอดทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการดังกล่าวมีมูลค่าทางการเงินและรวมถึงสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการได้ การสละสิทธิที่จะไม่รับสิ่งของหรือบริการที่บริษัทพึงได้รับ หมายถึง การสละสิทธิที่บริษัทพึงได้รับประโยชน์จากลูกค้า คู่ค้า และผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ไม่ว่าจะมีมูลค่าทางการเงินหรือไม่ก็ตาม

ข. การช่วยเหลือทางการเมืองที่มีลักษณะมิชอบตามกฎหมาย หมายถึง การช่วยเหลือทางด้านการเงินหรือการให้บริการไม่ว่าในรูปแบบใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ค.การบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุนต่าง ๆ หมายถึง การบริจาคหรือสนับสนุนเงินหรือสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดให้บุคคลหรือ นิติบุคคลอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงมิชอบตามกฎหมายหรือเงินสนับสนุนเพื่อธุรกิจ ตราสินค้าหรือชื่อเสียงของผู้บริจาคเงิน

 

 

นโยบายและแนวปฎิบัติเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างประโยชน์ทางธุรกิจกับประโยชน์สาธารณะ

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์  (Conflict of Interest) หมายถึง สถานการณ์หรือการกระทำของบุคคล (ไม่ว่าจะเป็น พนักงานบริษัท ผู้บริหาร) มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง จนส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น การกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนาหรือบางเรื่องเป็นการปฏิบัติสืบต่อ กันมาจนไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งผิดแต่อย่างใดพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกระทำความผิดทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ(ประโยชน์ของส่วนรวม)แต่กลับตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึง ประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง

ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นประเด็นปัญหาทางการบริหารในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยังสะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการดำเนินการดังนี้

  1. บุคลากรของบริษัทฯ ต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์หรือการกระทำที่่อาจทำให้มีผลประโยชน์ส่วนตน จนเป็นเหตุให้มีผลต่อการตัดสินใจหรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่่ของบุคคลนั้น และส่งผลกระทบต่อ ประโยชน์ของบริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  2. บุคลากรของบริษัทฯ จะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของ บริษัทฯ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารในกิจการที่่ ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทฯ ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ ตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือผู้้ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วม และ/หรือ บริษัทในเครือ
  3. บุคลากรของบริษัทฯ ต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาที่ความเกี่ยวพันกับตน เช่น เป็นครอบครัว ญาติสนิท บุคคลที่่มีความใกล้ชิด หรือที่่ตนเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วน แม้ว่าจะเป็นประโยชน์กับ บริษัทฯ ก็ตาม
  4. บุคลากรของบริษัทฯ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลหรือสิ่งที่ตนหรือผู้อื่นรู้ เนื่องจากตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
  5. บุคลากรของบริษัทฯ ต้องรายงานการมีส่วนได้เสียที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์กับบริษัทฯ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันที
  6. บุคลากรของบริษัทฯ ต้องไม่นำความลับ เงิน บุคลากร และทรัพย์สินใด ๆ ขององค์กรไปแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  7. บุคลากรของบริษัทฯ ต้องไม่รับงาน หรือปฏิบัติงานภายนอก ที่อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับผลประโยชน์ขององค์กรไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  8. กำหนดให้มีการจัดทำคู่มือการปฎิบัติงาน และมีการจัดประชุทอบรม และสร้างช่องทางการรับรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม

 

 

นโยบายการให้ทรัพย์สินและประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐ

  1. การช่วยเหลือและสนับสนุนทางการเมือง

(1) บริษัทฯ มีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง โดยจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมและฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งหรือ
ผู้มีอำนาจทางการเมืองคนหนึ่งคนใด รวมถึงไม่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนทางการเงิน สิ่งของ ทรัพยากรของบริษัทฯ หรือการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัทฯ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัทฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจการค้า

(2) บุคลากรของบริษัทฯ มีสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย แต่พึงตระหนักที่จะไม่ดำเนินการหรือเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ รวมถึงนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ ทรัพยากรใด ๆ ของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อดำเนินการหรือกิจกรรมใด ๆ ทางการเมือง เพื่อให้บุคคลใดหลงเชื่อ หรือเข้าใจว่าการใช้สิทธิหรือการแสดงออกเช่นว่านั้น กระทำในนามของบริษัทฯ หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัทเกี่ยวข้อง ฝักใฝ่ หรือสนันสนุนการดำเนินการทางการเมือง พรรคการเมือง หรือผู้มีอำนาจทางการเมือง

  1. การบริจาคเพื่อการกุศล

(1) การบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการกุศล การสาธารณประโยชน์ และการให้เงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลตังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุน
ให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง หรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยต้องมีหลักฐานการบริจาคที่ชัดเจน เชื่อถือได้ สามารถตรวจสอบได้ และผู้บริหารระดับสูงได้พิจารณาความเหมาะสม

(2) บุคลากรของบริษัทฯ จะต้องระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศลนั้น จะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยง
ในการให้สินบน หรือไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใดหรือหน่วยงานใด

  1. เงินสนับสนุน (Sponsorships)

(1) บุคลากรของบริษัทฯ จะต้องระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าเงินสนับสนุนนั้น จะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงใน
การให้สินบน และต้องพิสูจน์ได้ว่าการให้เงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ เช่น การให้ที่พักและอาหาร ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือ หน่วยงานใด ยกเว้นการประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมธุรกิจทั่วไป

(2) ในการเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน จะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับเงินสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมด เสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัทฯ

  1. ค่าอำนวยความสะดวก

บริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะจ่ายค่าอำนวยความสะดวกใด ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือภาคเอกชนใด เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ดำเนินการรวดเร็วมากขึ้น หรือเพื่อยืนยันว่าจะได้ผลตามกระบวนการทำงานปกติในทุกกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ

 

นโยบายและมาตรการ ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมการไม่ให้ไม่รับ

เป็นนโยบายของบริษัทฯ ที่ต้องการให้การตัดสินใจในเชิงพาณิชย์ตั้งอยู่บนเกณฑ์ทางธุรกิจ ซึ่งนโยบายนี้จะช่วยรักษา ไว้ซึ่งผลประโยชน์ของบริษัทฯ และช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรหรือบุคคลที่ทําธุรกิจ หรือกำลังจะเข้ามาทํา ธุรกิจกับบริษัทฯ อาจเป็นธรรมเนียมปฎิบัติในหลายๆแห่งที่ความสัมพันธ์ที่ดีเหล่านั้นจะเกี่ยวพันกับการให้หรือรับของขวัญและ การรับรองอยู่บ้าง ดังนั้น กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลอื่นผู้ทําการแทนในนามของบริษัทฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การให้หรือการรับของขวัญและหรือการรับรองต่อบุคคลภายนอกในการทํางานให้กับบริษัทฯ จะต้องใช้วิจารณญาณอย่าง เหมาะสมในแต่ละกรณี โดยจะต้องคํานึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงคุณลักษณะของของขวัญหรือการรับรอง ความมุ่ง หมายของสิ่งนั้น ลักษณะของการให้และการรับ สถานะของผู้ที่ให้หรือได้รับของขวัญ หรือการรับรอง บริบทของธุรกิจ การให้ ต่างตอบแทนกัน กฎหมายที่ใช้บังคับและจารีตประเพณี โดยการให้ของขวัญและการรับรองจะต้องปราศจากเจตนาที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมแก่บริษัทฯ  ซึ่งบริษัทฯ กำหนดแนวทางปฎิบัติไว้ดังนี้

  1. การรับหรือการให้ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรองตามประเพณีสามารถกระทำได้ ซึ่งต้องมั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบหรือจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานและธุรกิจของบริษัท
  2. การรับหรือการให้ของขวัญของกำนัล และการเลี้ยงรับรองต้องโปร่งใสและไม่คาดหวังต่อผลในการรับหรือให้ของนั้น ๆ
  3. การรับหรือการให้ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง ต้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนโยบายมาตรการดำเนินการ แนวทางปฏิบัติและคู่มือต่าง ๆ ของบริษัท
  4. การให้ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง ต้องทำในนามของบริษัท ทั้งนี้ ค่าของขวัญ ของกำนัล และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรอง ทุกรายการจะต้องมีการลงบันทึกไว้อย่างถูกต้อง มีหลักฐาน และการอนุมัติตามขั้นตอน เพื่อการตรวจสอบในภายหลัง
  5. การรับของขวัญ ของกำนัล ในโอกาสตามประเพณีนิยม ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท (หรือเทียบเท่า)