การจัดการความเสี่ยงต่อการให้สินบน
บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังที่องค์กรได้ตั้งไว้ และเพื่อให้แนวทางการบริหารความเสี่ยงเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร จึงจำเป็นต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติงานการบริหารความเสี่ยงขึ้น
ความหมายของการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง กระบวนการที่ปฏิบัติ เพื่อให้สามารถบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดการ ควบคุม รายงาน ติดตามผล เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อองค์กร ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้ตั้งไว้
ความเสี่ยง (Risk) คือ เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์กร
โอกาส (Opportunity) คือ เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบในเชิงบวก ต่อวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์กร
ปัจจัยเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใด และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง
นโยบายการบริหารความเสี่ยง
- ให้ผู้บริหาร พนักงาน ให้ความสำคัญและทำความเข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
- ให้มีการติดตาม ประเมินผล ทบทวน ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดและความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
การประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย 2 ด้าน คือ โอกาสที่อาจเกิดขึ้น (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
1.การประเมินโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) พิจารณาได้ในรูปแบบของความถี่ (Frequency) หรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงโดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
2.การประเมินผลกระทบ (Impact) ในการพิจารณาผลกระทบความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับ พิจารณาว่าปัจจัยเสี่ยงนั้นส่งผลกระทบด้านใด ด้านการเงิน-ทรัพย์สิน ลูกค้า การดำเนินงาน ชื่อเสียงองค์กร คุณภาพและประสิทธิภาพ
ผลกระทบด้านการเงิน-ทรัพย์สิน (รหัส = IF)
ผลกระทบด้านลูกค้า (รหัส = IC)
ผลกระทบด้านการดำเนินงาน (รหัส = IP)
แผนผังประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Matrix)
เกณฑ์ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยง
การจัดทําแผนบริหารความเสี่ยง ตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนของบริษัทฯ ที่ยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี และไม่ยอมรับการ ทุจริตคอร์รัปชันและสินบนทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น ผู้บริหารที่เป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการ ต้องทบทวนประสิทธิผลของมาตรการควบคุมภายในที่ได้ออกแบบไว้ และมีการนําไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในกระบวนการปฏิบัติงานจะได้รับการจัดการ อย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องมีการสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
การรายงานและติดตามผล (Reporting & Monitoring)
การวิเคราะห์ความเสี่ยง เป็นขั้นตอนของการนําเอาความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนํามาวิเคราะห์ โดยการระบุขอบเขต ความเสี่ยง การระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยพิจารณาประเมิน โอกาสเกิดความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันและสินบนในปัจจุบัน ก่อนที่จะมีการดําเนินการตามแผน บริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาโอกาสที่จะเกิดแต่ละเหตุการณ์ความเสี่ยง ภายในระยะเวลา 12 เดือน การประเมินผลกระทบเป็นการประเมินเพื่อทําความเข้าใจว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน และสินบนที่ระบุนั้นส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ต่อวัตถุประสงค์อย่างไร และมีความรุนแรงของผลกระทบ มากน้อยเพียงใด
การจัดการความเสี่ยงในการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐและการนำไปสู่การปฎิบัติ
การขอใบอนุญาต
การให้หรือรับของขวัญ การเลี้ยงรับรอง การช่วยเหลือทางการเมือง และการประชาสัมพันธ์
การจัดซื้อ
การขายและการตลาด
การเงิน
การสรรหาบุคลากร และการบริหารทรัพยากรบุคคล